----------------------
w

Excellent Reviews

18th Year Anniversary

100% Satisfaction

Best Price Guarantee

Professional Service

Office Hour

Mon-Sat 09.00-18.00

Advisor Support

082 020 2862

MENU

บทเรียนนี้ สำหรับคนที่มีเวลา มีความสนใจอยากทำเว็บไซต์เอง บทเรียนนี้พยายามสอนอย่างละเอียด ตั้งแต่เริ่มต้น สั่งซื้อโฮสต์ ไปจนถึง WordPress พร้อมใช้ คุณทำตามขั้นตอนอย่าง ช้าๆ อย่าข้ามขั้นตอน ถ้าขาดจุดใดจุดหนึ่ง ภารกิจอาจไม่สำเร็จ

การติดตั้ง WordPress

เริ่มต้นจากการสั่งซื้อ จดโดเมนเนม จนกระทั่ง การอับโหลดผ่าน Filezilla ขึ้น Server

บทที่ 1 : สั่งซื้อโฮสต์ โดเมนเนม และติดตั้ง WordPress กับ Direct Admin

ทำตามขั้นตอนการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ดังนี้

  1. จดโดเมนเนม สั่งซื้อโฮสต์ การทำเว็บไซต์ ควรมีโดเมน ก่อนการจดโดเมนเนมควร คิดชื่อที่เหมาะสม ไม่ยาวเกินไป หรืออาจจะจดเป็นชื่อแบรนด์สินค้า หรือ คีย์เวิร์ดที่บริการ เมื่อคิดชื่อโดเมนเนมได้แล้ว สามารถสั่งซื้อโฮสต์ พร้อมและจดโดเมนเนม ส่วนจะเลือกแพคเกจไหน นั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลของคุณ สำหรับมือใหม่หัดทำ แนะนำให้เลือกแพคเกจกลางๆ ตัดปัญหาข้อจำกัดบางอย่าง หรือก็แล้วแต่งบประมาณ แพคเกจโฮสต์ของ WebsiteGang ออกแบบมาแบบพรีเมียมอยู่แล้วลิ้งค์สำหรับสั่งจองแพคเกจโฮสต์ และโดเมนเนม https://www.websitegang.com/share-hosting/ ตกลงแพคเกจไหนก็ดำเนินการ >>>คลิกจอง<<<
    ตารางราคาเช่าโฮสต์ – เมื่อคลิกแล้วจะไปยังหน้าสั่งจอง เริ่มต้นด้วยการใส่ชื่อโดเมนเนมที่ต้องการจดทะเบียนกรอชื่อโดเมนเนม
    – ถ้าโดเมนเนมว่าง ระบบจะแจ้งสีเขียวแสดงความยินดี สามารถดำเนินการต่อได้เลย (แต่ถ้าโดเมนเนมไม่ว่าง ควรคิดชื่อใหม่) คลิก >>>ดำเนินการ<<<
    โดเมนเนมว่าง – จะไปยังหน้าตรวจสอบข้อมูลสินค้า ว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ แล้วคลิก >>>ดำเนินการต่อ<<<
    ดำเนินการต่อ – เมื่อคลิก >>>ดำเนินการต่อ<<< แล้ว ระบบจะให้ตรวจเช็คสินค้าอีกครั้งหนึ่งเพื่อความมั่นใจ ก่อนถึงขั้นตอนสำคัญ คลิก >>>Checkout<<<
    รีวิวสินค้า – ใส่ข้อมูลผู้สั่งซื้อเป็นภาษาอังกฤษ เท่านั้น และต้องกรอกให้ครบ เพราะการจดโดเมนเนมจะมีผลต่อข้อมูลภาษาอังกฤษเท่านั้น
    – ในส่วนช่องอีเมล์ และพาสเวิร์ต คุณต้องจำให้ได้ เพราะคุณจะต้องกลับมาเพื่อล็อกอินเข้า ระบบจัดการข้อมูล ต่างๆ

    เลือกรูปแบบการสั่งซื้อ
    แบบโอนผ่านธนาคาร ระบบจะแจ้งบัญชีการโอนต่างๆ ทางอีเมล์
    แบบ Mail in ก็ไม่ต่างจากการโอน เพราะระบบจะแจ้งข้อมูลธนาคารทางอีเมล์
    PayPal คุณสามสามารถชำระด้วย บัตรแครดิต หรือบัตรเดบิต ด้วยระบบ Papal ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูงสุด และไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
    เมื่อกรอกเรียบร้อยแล้วคลิก >> ดำเนินการสั่งซื้อ<<ข้อมูลผู้สั่งซื้อ
    – เมื่อคลิก >>>ดำเนินการสั่งซื้อ<<< แล้ว ระบบจะออกใบเรียกเก็บ พร้อมข้อมูลการชำระเงิน ให้ท่านชำระเงินตามที่ท่านถนัด ในขณะเดียวกัน ท่านจะได้รับอีเมล์รายละเอียดการชำระเงินทางอีเมล์ที่ท่านกรอกไว้ด้วย พร้อมคิวอาร์โค๊ตสำหรับท่านที่ถนัดการชำระเงินด้วยการสแกนคิวอาร์โค๊ตตัวอย่างใบเรียกเก็บเงิน
    ตัองอย่างอีเมล์ ที่ได้รับ พร้อมคิวอาร์โค๊ต ในการชำระเงิน
    อีเมล์แจ้งการสั่งซื้อ
    เมือท่านได้ทำการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว และ แจ้งชำระเงินตามรายละเอียด เจ้าหน้าที่จะทำการส่งข้อมูลระบบให้ท่านทางอีเมล์
    หลังจากนั้น ภายใน 15 นาที (วัน เวลาทำการ)  ท่านก็สามารถใช้ข้อมูลระบบ และ จัดการนลง WordPress ได้

  2. เข้าระบบ Direct Admin ผ่านทาง User Account ของคุณเอง ด้วยวิธีง่ายๆ
    ตามลิ้งค์ https://www.websitegang.asia/ 
    กรอกที่อยู่อีเมล์ และรหัสผ่านที่ตั้งไว้ หรือ ล็อกอินด้วย Facebook หรือ Google
    ล็อกอินเข้าระบบ
    เมื่อล็อกอินเข้าระบบได้แล้วจะเข้าไปยังหน้าแรกของระบบจัดการของผู้ใช้ คลิก >>ที่สินค้าและบริการ<<  เพื่อไปที่หน้ารายการสินค้าหน้าจัดการของผู้ใช้ เมื่อคลิกแล้วจะเป็นหน้าลิสต์รายการสินค้า ตามลูกศรด้านล่าง คลิกที่ >> ชื่อสินค้าของคุณ << เพื่อเข้าไปยังลิ้งค์ของระบบ DirectAdmin
    หน้าลิสต์รายการสินค้า เมื่อคลิกที่ >> ชื่อสินค้าของคุณ << จะเห็นข้อมูลโฮสต์ที่สั่งซื้อ เลื่อนลงมาด้านล่างสุดจะมองเห็นปุ่มสำหรับคลิก Login to DirectAdminหน้าจัดการสินค้า
    เมื่อคลิกปุ่ม >> Login to DirectAdmin<<  จะมองเห็นห้องควบคุมระบบ DirectAdmin หน้าตาแบบนี้หน้าตาระบบ DirectAdmin
  3. สร้างฐานข้อมูล Mysql เพื่อเตรียมลง WordPress โดยคลิกที่ >>MySQL Management<<คลิกสร้าง Tatabase
    เมื่อคลิก >>MySQL Management<< จะไปที่ห้องสร้าง Database คลิก >>Create new Database<<คลิกสร้าง Database
    เมื่อคลิก >>Create new Database<< แล้วจะไปหน้า สร้าง Database ประกอบด้วย Database name, Database user name, Database Password  ** สำคัญที่สุด เมื่อสร้าง Database แล้วควรจำค่าเหล่านี้ไว้ เพื่อการลงโปรแกรม WordPress และ การตั้งค่า ในขั้นตอนต่อไป
    1 กรอกชื่อ Database 2 กรอก Database Username 3 ใสพาสเวิร์ตที่แข็งแรง หรือคลิก Random เพื่อให้ระบบสร้างพาสเวิร์ดให้ แล้วคลิก Create ดูตัวอย่างภาพถัดไปสร้าง Database หน้าตา Database ที่ Create ถูกต้อง จะขึ้นลักษณะนี้ ให้จำค่าที่สร้างไว้ สำหรับขั้นตอนต่อไป (ในภาพเป็นเพียงตัวอย่าง ทุก Database จะมีชื่อ พาสเวิร์ด ไม่เหมือนกัน)database สร้างแล้ว
  4. ดาวน์โหลด WordPress ลงมาไว้ในเครื่อง ดาวน์โหลด WordPress ไปที่เว็บไซต์ของ WordPress  https://wordpress.org/ คลิก ดาวน์โหลด หรือ คลิกทีนี่ เพื่อดาวน์โหลด โดยตรง ควรเก็บ WordPress ไว้ใน folder ต่างหาก เพราะเมื่อทำการแตก file แล้ว จะได้จัดการง่ายขึ้น folder เก็บ
    เมื่อดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยทำการแตกไฟล์ โดยคลิกขวาที่ไฟล์ที่ดาวน์โหลด แล้วคลิก Extract Hereแตกไฟล์ เมื่อแตกไฟล์แล้วจะมีทั้งหมด 3 folders 16 Files
    files in wordpress
  5. สร้างไฟล์ config เพื่อเชื่อมโยงโปรแกรม กับ Database ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะหากตั้งค่าผิดพลาด จะไม่สามารถลงโปรแกรมได้
    – เปิดโฟล์เดอร์ ที่เก็บ WordPress คลิกขวาเปิดไฟล์ชื่อ wp-config-sample.php ด้วยโปแกรม notepad เหมือนภาพตัวอย่างวิธีเปิดไฟล์ด้วย notepad – เมื่อเปิดแล้วให้ ตั้งค่า 3 จุด 1.Database name – 2.Database user name – 3. Database password จะต้องเป็นค่าเดียวกับ ค่า Database ที่ตั้งไว้ใน Direct Admin ภาพเปรียบเทียบด้านล่าง (ภาพด้านล่างเป็นเพียงตัวอย่าง : ค่าจริงต้องเป็นค่าที่คุณตั้งไว้ในตอนสร้าง Database)
    วิธีการใส่ ค่าต่างๆ ให้ใส่ในช่อง ระหว่างเครื่องหมาย ‘……………’ เท่านั้น ห้ามแก้ไขส่วนอื่นแก้ไขไฟล์ config – เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกเป็น ไฟล์ใหม่ชื่อ config.php เก็บไว้ที่เดียวกับ ไฟล์รวมของ WordPress ดังนั้น file จะเพิ่มขึ้นอีก 1 ไฟล์ เป็น 17 ไฟล์ 3 โฟลเดอร์
  6. อับโหลด WordPress ขึ้น เซิร์ฟเวอร์ด้วยโปรแกรม Filezilla  ถ้าไม่มีคุณสามารถดาวน์โหลด ได้ฟรี ในเว็บไซต์ของ Filezilla  เปิดโปแกรม Filezilla โปรแกรม สำหรับเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณ กับ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ถ้าไม่มีดาวน์โหลดและติดตั้งก่อน ตามลิ้งค์ https://filezilla-project.org/ ตรงนี้จะไม่แนะนำวิธีการติดตั้ง Filezilla (ให้ไปศึกษาวิธีการจากกูเกิลเอง)เปิดโปรแกรม Filezilla ขึ้นมา หน้าตาจะเป็นลักษณะนี้ ช่องฝั่งซ้าย จะเป็นส่งเครื่่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ส่วนฝั่งขวามือจะเป็นฝั่งของเซิร์ฟเวอร์ ต่อจากนี้ คุณต้องการเชื่อมต่อระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกับเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำการอับโหลดข้อมูล WordPressหน้าตา filezilla
  7. เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ เซิร์ฟเวอร์ ด้วยโปรแกรม Filezilla ผ่าน Ftp แอคเคาท์ ที่ได้รับจากทีมงาน Websitegang เช็คอีเมล์ ที่ได้ลงทะเบียนไว้
    ตัวอย่างอีเมล์ ที่ได้รับจากทีมงาน ตรวจสอบในส่วนของข้อมูล FTPอีเมล์ที่ได้รับจากทีมงาน
    มี 3 จุด สำคัญ ที่ต้องตั้งค่าใน FileZilla เพื่อเชื่อมต่อ
    – FTP Server : ftp.domain.com
    – Login : ftp user name
    – Password : ftp passwordใส่ให้ตรงกับ ค่าที่ได้รับ คลิก connect ถ้าระบบเชื่อมต่อได้ จะมองเห็น ข้อมูลทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ดังภาพ เมื่อกรอกครบเรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม >>>connect<<< ด้านล่าง
    6 จุดจัดการตั้งค่าเพื่อล็อกอิน FTP
    ถ้าเชื่อมต่อได้จะมองเห็นดังภาพเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอสำเร็จ
  8. อับโหลด WordPress เข้าไปยัง folder ชื่อ public_html ดับเบิ้ลคลิกเพื่อเปิดโฟลเดอร์ชื่อ public_html >>> เลือก file และ folder จาก WordPress ด้านซ้ายทั้งหมด รวมถึง file ที่ตั้งใหม่ ชื่อ config.php ด้วยการเลือกทั้งหมดก่อน คลิกขวาอับโหลด หรือใช้วิธีลาก file และ folder ทั้งหมด มายังฝั่งขวา ซึ่งเป็นฝั่งเซิร์ฟเวอร์  แนะนำห้ามปิดโปรแกรมระหว่างการอัพโหลด ข้อควรระวัง ต้องอับโหลดให้ครบ การใช้อินเทอร์เน็ตสปีดต่ำ อาจมีผลต่อการอับโหลดอับโหลด WordPress ****ลบ File ชื่อ index.html ในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ออก หรือเปลี่ยนชื่อใหม่ด้วยการขีดเข้าไป  -index.html- (เพื่อให้โดเมนอ่านไฟล์ index.php แทน)
    ****เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง WordPressเมื่ออับโหลดสำเร็จ
  9. การติดตั้ง WordPress ตั้งค่าเว็บไซต์ user name สำหรับแอดมิน Website Title, user name, password, Install
    – หมดหน้าที่ของการทำงานโปรแกรม Filezilla
    – ให้เปิด Browser ตัวใดตัวหนึ่งขึ้นมา
    – ใส่ชื่อโดเมนเนมที่ช่อง Browser เมื่อใส่ถูกต้อง WordPress จะเข้าสู่การติดตั้ง >> เลือกภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ตามถนัด >> คลิก ถัดไปติดตั้ง wordpress
    เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง และตั้งค่า
    – ใส่ชื่อเว็บไซต์ มีผลต่อการค้นหา
    – ชื่อผู้ใช้ สำหรับล็อกอินเข้าครั้งต่อไป
    – รหัสผ่าน ควรเป็นรหัสที่คาดเดายาก เพราะมีผลต่อความปลอดภัย
    – อีเมล์ควรเป็นอีเมล์ที่ใช้งานบ่อยๆ เพราะมีความจำเป็นสำหรับการใช้งานเว็บไซต์
    – ถ้าคุณต้องการให้มีการค้นพบข้อมูล ไม่ต้องเลือกค่า ปิดกั้นโปรแกรมติดตั้ง wordpress
    การติดตั้งสำเร็จ คลิก >> เข้าสู่ระบบ<<ติดตั้งสำเร็จ
    หน้าตา เว็บไซต์ WordPress ที่พึ่งลงเสร็จใหม่ๆ ซึ่งจะต้องการมีการปรับแต่ง หน้าตา เมนู และ ระบบต่างๆ ให้ใช้งานได้ตามความต้องการ
    หน้าตาเว็บไซต์ที่พึงเสร็จใหม่
  10. Login เข้าใช้งาน WordPress
    – ใส่ URL : yourdomainname.com/wp-login.php
    – user name: ที่ตั้งไว้
    – password: ที่ตั้งไว้การล็อกอินเข้า wordpress
    คลิก >>>เข้าสู่ระบบ<<<หน้าตาของ WordPress ที่พึ่งติดตั้งใหม่

บทเรียนต่อไปเป็น ตั้งค่า WordPress เพื่อทำเว็บไซต์ มาตรฐาน เบื้องต้น (บทที่ 2)