เผยพฤติกรรมแฮกเกอร์ รู้ไว้ ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ก่อนจะสายเกินไป
อีเมล์ของคุณกำลังจะถูกแฮก ถ้าคุณไม่รีบป้องกัน รู้ทันแฮกเกอร์
แฮกเกอร์คือใคร?
มีกี่ประเภท?
ทำไมต้องแฮก?
วิธีการของแฮกเกอร์?
แฮกแล้วได้อะไร?
คุณจะป้องกันอย่างไร? หาคำตอบได้ที่นี่…
การดำเนินชีวิตปัจจุบัน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ อินเตอร์เนท เพราะโลกไซเบอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตเกือบ 100% วันไหนไม่มีอินเตอร์เนท คุณจะรู้สึกว่าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในโลกแบบไหนออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ ก็จะมีทั้งคนดีและคนชั่วเหมือนกัน ในโลกออฟไลน์ ได้แก่พวกโจร ขโมย ฉก ชิง วิ่งราว ในส่วนของออนไลน์ แฮกเกอร์ ถูกมองเป็นตัวอันตรายในโลกไซเบอร์ แต่แฮกเกอร์ก็มีทั้ง ดีและไม่ดี
แฮกเกอร์คือใคร? มีกี่ประเภท?
แฮกเกอร์ หรือ Hacker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ระดับสูง ตลอดจนระบบปฏิบัติการต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงระบบเครือข่าย จนสามารถเข้าจัดการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ได้
แฮกเกอร์มีทั้งดีและไม่ดี จัดเป็นหมวดใหญ่ๆ 2 หมวด แฮกเกอร์ดีเราเรียกว่า White Hat ส่วนแฮกเกอร์ที่ไม่ดีเราเรียกว่า Black hat แต่จะมีหลายแหล่งข้อมูลได้แบ่งระดับของ Hacker ออกเป็นหลายระดับ มี
ไวต์แฮต White Hat
เกรย์แฮต Gray Hat
บลูแฮต Blue Hat
แบล็กแฮต Black Hat
แฮคเกอร์ สคริปต์คิดดี้ส์ เป็นต้น
– White Hat จะทำหน้าที่เจาะข้อมูล หาช่องโหว่ต่างๆ ของระบบปฏิบัติการ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาด้านความปลอดภัย ให้มากขึ้น หรือ การแฮคเพื่อประโยชน์ต่อสังคม เช่น การแฮคเข้าไปทำลายระบบฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้าย เป็นต้น
– Black Hat คือพวกที่แอบเข้าไปขโมยข้อมูลคนอื่นเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตน ด้วยการแฮกเข้าไปในระบบปฏิบัติการางๆ เช่น อีเมล์ เว็บไซต์ รวมถึงระบบระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ แล้วจัดการตามตามแผนการต่างๆ ที่มีหลากหลายวิธี ในการนำมาเหพื่อผลประโยชน์หรือเงิน ซึ่งคุณอาจตกเป็นเหยื่อ และ เสียเงินมหาศาลก็เป็นได้
วิธีการของแฮกเกอร์?
แฮกเกอร์ มีวิธีการหลากหลายรูปแบบในการแฮกข้อมูล เช่น Email Scam (อีเมล์หลอกลวง) Password Sniffers (การใช้ระบบดักจับพาสเวิร์ด) Spooling (การเข้าสู่คอมพิวเตอร์ระยะทางไกล) The Hole in the Web (ใช้ข้อบกพร่องของ WWW.)
รู้จักกับ Email Scam (อีเมล์หลอกลวง)
Email Scam (อีเมล์หลอกลวง) เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นได้ง่าย เป็นภัยใกล้ตัว ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ก่อนจะสายเกินไป
Email Scam อันดับแรกจะหลอกเอาพาสเวิร์ต เช่น พาสเวิร์ตอีเมล์ พาสเวิร์ตเฟสบุ๊ค พาสเวิร์ตระบบการเงิน การธนาคาร พาสเวิร์ตโซเชียลต่างๆ เมื่อได้พาสเวิร์ตแล้วจึดำเนินการ ขั้นตอนต่อไป
Hacker เหล่านี้จะส่งอีเมล์ด้วยการออกแบบหน้าตาอีเมล์ ให้เหมือนกับมาจากผู้ให้บริการจริงๆ ชนิดแกะแทบไม่ออก ด้วยการแจ้งเหตุผลต่างๆ นานา และจะมีลิ้งค์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวของคุณเข้าไป รวมถึงการกรอกพาสเวิร์ตลงไป ซึ่งนั่นแหละคุณได้ส่งข้อมูลให้แก่ Hacker เรียบร้อยแล้ว
หัวข้ออีเมล์หลอกลวงต่างๆ ที่คุณจะได้รับ
- เราต้องการปรับปรุงระบบ คุณต้องทำการยืนยันข้อมูลการใช้งานของคุณให้ตรงกับฐานข้อมูล
- คุณได้รับรางวัลจากระบบการเงิน ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อเข้ารับรางวัล
- ระบบ Paypal ของคุณต้องการการยืนยัน
- Facebook ต้องการปรับปรุงระบบ กรุณายืนยันก่อนที่จะถูกลบ
เป็นต้น
แต่เมื่อตรวจสอบ URL แล้วไม่ใช่ URL ที่ถูกต้อง ห้ามกรอกเด็ดขาด
แฮกแล้วได้อะไร?
- ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน การธนาคาร เมื่อ Hacker สามารถล็อคอินเข้าธนาคารได้แล้วจะทำการโอนไปยังบัญชีเป้าหมายและทำการเบิกถอน ทันที ซึ่งบัญชีปลายทางก็เป็นบัญชีที่รับจ้างเปิดไว้
- หลอกเพื่อนหรือญาติให้โอนเงินในนามของคุณ ผ่าน Social Network เช่น Facebook เมื่อ Hacker สามารถเข้าระบบส่วนตัวของคุณได้จะทำการเปลี่ยนพาสเวิร์ต คุณก็ไม่สามารถเข้าได้อีกต่อไป Hacker จะทำการติดต่อไปยังเพื่อน หรือญาติสนิท เพื่อยืมเงิน หรือวิธีการใดในนามของคุณเพื่อขอเงิน หรือ ให้โอนเงินเข้าบัญชีของ Hacker
ข้อมูลลูกค้าของคุณที่จะเป็นเป้าหมาย กรณีเมื่อแฮกเข้าอีเมล์ของคุณได้แล้ว Hacker ยังได้รายรายชื่ออีเมล์ของเพื่อนๆ หรือลูกค้า เพื่อทำการหลอกลวงต่อไป หรือรวบรวมอีเมล์เพื่อขายให้มิจฉาชีพคนอื่นๆ ต่อไป - ข้อมูลความลับบางส่วนที่คุณไม่ต้องการเปิดเผย สามารถนำมาขายต่อ หรือเป็นการเรียกค่าไถ่ได้
คุณจะป้องกัน Hacker อย่างไร?
- ใช้โปรแกรมของแท้ที่สามารถอับเดทได้
- ใช้พาสเวิร์ตที่คาดเดายาก สำหรับเข้าระบบต่างๆ หรือทำระบบป้องกัน 2 ชั้นโดยรับรหัสทาง SMS หรือ อีเมล์
- ห้ามเปิดอีเมล์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
- ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือพาสเวิร์ต จนกว่าจะแน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นน่าเชื่อถือ ตรวจสอบลิ้งค์บน Browser ให้แน่ใจว่ามาจากผู้ให้บริการจริง